ม ยามะ อ นด สตร ประเทศไทย จำก ด

หนูแก่กลับมาแข็งแรง สมอง ตับ ไต ทำงานดีขึ้น ส่วนหมูก็มีเนื้อเต่งตึงขึ้น แล้วถ้าใช้ "มณีแดง" กับมนุษย์สูงวัย ก็คาดว่าจะทำให้เซลล์ชราเยาว์วัย-แข็งแรงขึ้น เทียบได้กับคนอายุ 25 ปี ฟังดูเหมือนโฆษณาชวนเชื่อ แต่นี่เป็นผลงานการวิจัยของนักวิจัยไทย ที่หวังสร้างยาอายุวัฒนะแบรนด์ไทย ให้ดังไกลถึงระดับโลก

วานนี้ (12 ก.ค.) ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณะบดี คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ รวมถึงคณบดี คณะเภสัชศาสตร์ จัดการแถลงข่าวที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาฯ ถึงความคืบหน้างานวิจัย "โมเลกุลมณีแดง" ซึ่งเป็นนวัตกรรมต้านเซลล์ชรา จากการทดสอบในสัตว์ ก่อนจะเตรียมทดสอบในมนุษย์ในอีก 8 เดือนต่อจากนี้

โมเลกุลมณีแดง หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ RED-GEMs ย่อมาจาก REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules เป็นผลจากการต่อยอดการพบ "กลไกต้นน้ำของความชรา" บริเวณรอยแยก (youth-DNA-gap) ตรงจุดที่มีดีเอ็นเอแมดทิเลชัน (DNA methylation) และเป็นที่มาของโมเลกุลมณีแดง

สรรพคุณของโมโลกุลมณีแดง มีดังนี้

1. ยีนที่ทำหน้าที่ "กรรไกร" สร้างรอยแยกดีเอ็นเอที่เริ่มลดลงจากความแก่ชรา จนทำให้หมุนตัวไม่ได้อย่างปกติ และถูกทำลายได้ง่าย

2. ผู้รับมณีแดงจะมีดีเอ็นเอแข็งแรงขึ้น เซลล์ที่เสื่อมลงจะกลับมาดีขึ้น

ที่มาของภาพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำบรรยายภาพ,

ทดลองมณีแดงในหนู หมู ลิง แล้ว

"จนเข้าสู่การทดสอบในสัตว์คือ หนู หมู และลิง โดยได้ทดสอบกับหนูวัยชราที่มีแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้ พบว่าหนูวัยชรากลับเป็นหนูที่มีความแข็งแรงและกระตือรือร้นขึ้น ทั้งการทำงานของ สมอง ตับ และไต ในส่วนของไขมันในช่องท้องและพังผืดในตับได้ลดหายไปด้วย ด้านแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้หายดี ไม่มีผลข้างเคียง" ศ.ดร.นพ. อภิวัฒน์ กล่าว

  • ชีวิตที่ไม่ง่ายของตายายใน “ครอบครัวข้ามรุ่น”
  • มีอะไรในกฎหมาย "ฉีดให้ฝ่อ" ป้องกันทำผิดซ้ำคดีทางเพศ และต่างประเทศทำอย่างไร
  • ทำไมโลกถึงมีคนอายุเกิน 100 ปีมากขึ้น

บีบีซีไทยประมวลผลการทดลองมณีแดงในสัตว์ จากการแถลงข่าวของทีมแพทย์และผู้บริหารจุฬาฯ ได้ดังนี้

  • หนูวัยชราที่เป็นเบาหวาน: กลับเป็นหนูที่มีความแข็งแรง กระตือรือร้นขึ้น
  • หมูแรกเกิดที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม: เนื้อสัมผัสนุ่มขึ้น แน่นขึ้น
  • ลิงแสม: ทดสอบ 3 เข็มเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ตอนนี้ลิงแสมยังปลอดภัยดี
  • หนูที่เป็นโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และปอดเป็นพังพืด: ยังไม่ระบุผลวิจัย

สำหรับการวิจัยนี้ ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมวิจัยกับบริษัท ปตท. จำกัด และบริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด

แล้วถ้าใช้ในมนุษย์ ?

พีพีทีวี รายงานอ้างอิงการแถลงข่าวของ ศ.นพ. อภิวัฒน์ ว่า หากเทียบกับหนูชราที่ได้รับมณีแดงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าเซลล์ชราในตับลดลง และคืนการทำงานของสมอง ไต และไขมันช่องท้อง และภาวะดื้ออินซูลินให้กลับมาดังเดิม

"หากเปรียบกับอายุของมนุษย์ จะเหมือนลดเซลล์ชราจากอายุ 70 ปี กลายเป็น 25 ปี" ศ.นพ.อภิวัฒน์ ระบุ

ตอนนี้ ทีมวิจัยกำลังทดสอบมณีแดงในลิงแสม ซึ่งยังเหลือการเก็บข้อมูลอีก 5 สัปดาห์ จากทั้งหมด 8 สัปดาห์ รวมแล้วจะใช้มณีแดงฉีดให้ลิงแสม 8 เข็ม ซึ่งผลการทดลองจนถึงตอนนี้พบว่ามีความปลอดภัย โดยลำดับต่อไปจะเป็นการเตรียมทดสอบมณีแดงทางคลินิกในมนุษย์ คาดว่าจะเริ่มศึกษาได้อีก 8 เดือนต่อจากนี้ หรือในช่วงปี 2566

ที่เหลือจะขึ้นอยู่กับผลการทดลองในมนุษย์ ความปลอดภัยของการฉีดมณีแดงในคน ต่อยอดสู่การผลิตออกจำหน่ายเร็วสุดในปี 2567

ยาอายุวัฒนะฝีมือคนไทย เพื่อสังคมสูงวัยไทย

กรมกิจการผู้สูงอายุรายงานว่า สังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2568 หรืออีกเพียง 3 ปีข้างหน้า โดยนิยามของสังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society คือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่า 10% หรือประชากรอาย 65 ปี อัตราเท่ากับหรือมากกว่า 7%

ที่มาของภาพ, DONLAWAT SUNSUK/BBC THAI

ปัจจุบัน ไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเกินกว่า 20% แล้ว ไม่เพียงเท่านั้น อายุขัยเฉลี่ยของไทยยังยืนยาวขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี และคาดว่าในปี 2568 คนไทยจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวถึง 85 ปี

ทีมวิจัยมณีแดง จึงมองว่า มณีแดงจะเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การก้าวสู่สังคมสูงวัยของไทย เพื่อ "ยกระดับคุณภาพชีวิต" นอกเหนือจากเป็นความสำเร็จของนักวิจัยชาวไทยด้วย

อ่านแล้ว 584,376 ครั้ง

ตั้งแต่วันที่ 29/08/2556

อ่านล่าสุด 7 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ //tinyurl.com/y7ol5okr

จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ที่รายงานข่าวเด็กนักเรียนนำยาแก้ปวด ทรามาดอล (tramadol) ไปผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนหมดสตินั้น ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของผลเสียและการใช้ในทางที่ผิด ขอกล่าวถึงประโยชน์ของการใช้ทรามาดอล ในทางการแพทย์ก่อน ทรามาดอลเป็นยาแก้ปวดที่ใช้บำบัดอาการปวดขั้นปานกลางถึงรุนแรง มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากโรคต่างๆ ซึ่งใช้ยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ แล้วไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้เพียงพอ หรือใช้ร่วมกันเพื่อให้แก้ปวดได้ดียิ่งขึ้น โดยยานี้มีกลไกการออกฤทธิ์ 2 อย่างที่สำคัญคือ

  1. กระตุ้นµ(mu) receptors (มิวรีเซปเตอร์) ซึ่งเมื่อกระตุ้นแล้วจะมีฤทธิ์ลดความปวด รวมทั้งมีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทและมีผลทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (euphoria) ได้ด้วย การออกฤทธิ์นี้เหมือนกับการออกฤทธิ์ของยามอร์ฟีน (morphine) แต่ทรามาดอล จะมีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า ทำให้ยานี้ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษเหมือนกับมอร์ฟีน (ตามกฎหมายนั้นยาทรามาดอลจัดเป็นยาอันตรายและสามารถจำหน่ายได้ในร้านยา) อย่างไรก็ตามแม้จะออกฤทธิ์แรงน้อยกว่ามอร์ฟีนถึง 10 เท่า แต่ทรามาดอล จะมีฤทธิ์แก้ปวดที่ดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์ในข้อ 2 มาช่วยเสริมฤทธิ์แก้ปวดด้วย
  2. เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทที่ชื่อ serotonin และ norepinephrine ซึ่งสารสองตัวนี้เมื่อมีปริมาณเพิ่มขึ้นที่ไขสันหลังจะลดอาการปวดได้ การเพิ่มขึ้นของ serotonin จากการใช้ยาทรามาดอล เกินขนาด (เช่นครั้งละ 3-4 เม็ด) อาจส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า “serotonin syndrome” (มีอาการที่เกิดจาก serotonin มากเกิน) รวมทั้งอาจเกิดอาการในกลุ่มที่เรียกว่า extrapyramidal เช่น กลืนลำบาก มือสั่น มีไข้ กล้ามเนื้อเกร็งตัวอย่างมาก หรืออาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน ประสาทหลอนและหวาดระแวง ส่วนการเพิ่มขึ้นของ norepinephrine อาจทำให้ใจสั่น ปวดศีรษะ กระตุ้นระบบประสาทและทำให้ชักได้ อาการที่กล่าวมาข้างต้นจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรมของยีนส์ที่ใช้ในการทำลายยา tramadol การทำงานของไต ขนาดยาที่ใช้ และการใช้ร่วมกับยาหรือสารอื่นที่อาจเพิ่มหรือลดการออกฤทธิ์ของยา

ดังนั้นในกรณีที่นักเรียนนำทรามาดอลไปใช้ในทางที่ผิด นั่นคือใช้ยาโดยไม่ได้มีความจำเป็น รวมทั้งอาจใช้ครั้งละหลายๆ เม็ดต่อเนื่องกันหรืออาจเอาไปใช้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก็อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อระบบประสาท เช่น ทำให้รู้สึกสบายและเคลิ้มสุขได้เร็วและแรง แต่ถ้ามากไปก็จะกดระบบประสาทอย่างมากจนไม่รู้สึกตัวได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า หากใช้ยานี้ในขนาดที่ถูกต้องเพื่อลดอาการปวด ยาทรามาดอล ก็ยังเป็นยาที่มีประโยชน์มากในทางการแพทย์ แต่ถ้ามีการนำไปใช้ในทางที่ผิดโดยไม่เข้าใจถึงอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นก็สามารถทำให้ผู้ใช้ยาในทางที่ผิดเกิดอันตรายได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาในทางที่ผิดนั้นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่าย ในส่วนของเภสัชกรต้องเฝ้าระวังและไม่จำหน่ายยานี้ให้กับผู้ที่น่าสงสัยว่าจะนำไปใช้ในทางผิด เพื่อช่วยกันลดปัญหานี้ซึ่งส่งผลเสียที่รุนแรงต่อเยาวชนของชาติซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. จาก History of Hindu Medical Science โดย Bhagvat Sinh Jee, Logos Press, New Delhi, 1895 (reprinted 1998) อยู่ในห้องสมุด Aligahr Muslim University, Aligahr, India และหาอ่านได้จากinternet -->

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน