พระราชประว ต พระบาทสมเด จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช

พระราชประวัติ และ พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวง รัชกาลที่ 9 หรือ ร.9) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

©หน่วยราชการในพระองค์

พระราชประวัติ ในหลวง รัชกาลที่ 9

พระราชสมภพ : วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา

สมเด็จพระบรมราชชนก : สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

สมเด็จพระบรมราชชนี : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระเชษฐภคินี : สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (ในหลวง รัชกาลที่ 8)

©หน่วยราชการในพระองค์

การศึกษา :

  • อนุบาล – โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2474 – 2476)
  • ประถมศึกษา – โรงเรียนเมียร์มองต์ (École Miremont)
  • มัธยมศึกษา – โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองด์ (École Nouvelle de la Suisse Romande)
  • ประกาศนียบัตร – ด้านอักษรศาสตร์จากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค ก็องโตนาล (Gymnase Classique Cantonal)
  • อุดมศึกษา – วิชารัฐศาสตร์และกฎหมาย มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

©หน่วยราชการในพระองค์

ราชาภิเษกสมรส : ทรงหมั้นกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนีพันปีหลวง) ในปี พ.ศ. 2492 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ วังสระปทุม

©หน่วยราชการในพระองค์

บรมราชาภิเษก : วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

พระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 4 พระองค์ :

  1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
  2. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวง รัชกาลที่ 10)
  3. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  4. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

©หน่วยราชการในพระองค์

พระราชณียกิจ ในหลวง รัชกาลที่ 9

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาค้นคว้าเรื่อง “น้ำ” อย่างจริงจังและลึกซึ้ง และได้พระราชทานแนวพระราชดำริการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยตั้งแต่บริเวณต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยมี โครงการพระราชดำริด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สำคัญ อาทิ โครงการฝนหลวง, โครงการแก้มลิง, โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์, โครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน, โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก, เขื่อนขุนด่านปราการชล, เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นต้น

READ: ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ‘ในหลวง รัชกาลที่ 9’

©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน

ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการแก้ปัญหาดินในทุกลักษณะ โดยปี พ.ศ. 2547 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ได้มีมติเสนอให้วันที่ 5 ธันวาคม (วันพระบรมราชสมภพ) เป็น ‘วันดินโลก’ เพื่อรำลึกถึงพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณด้านการจัดการทรัพยากรดิน สำหรับ โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดินที่สำคัญ ได้แก่ โครงการแกล้งดิน, การศึกษาวิจัยการปลูกหญ้าแฝก, โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา ทั้งยัง พระราชทานแนวพระราชดำริการแก้ ปัญหาดินเค็ม โดยให้ใช้ระบบชลประทานช่วยเจือจางลดความเค็มของดินที่จังหวัดสกลนคร การแก้ ปัญหาดินทราย ตามแนวพระราชดำริ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และ การฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ที่เขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี เป็นต้น

©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้

ทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ผสานเป็นแนวทางเดียวกันกับการจัดการทรัพยากรน้ำและดิน รวมถึงทรงพิจารณาศึกษาหาแนวทางช่วยเหลือโดยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและสภาพวิถีชีวิตของราษฎรในพื้นที่ จนเกิดเป็นโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการหลวง, แนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง รวมถึง การปลูกป่าทดแทน และ การปลูกป่าชายเลน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ได้แก่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน, โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลน ในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี

©หน่วยราชการในพระองค์

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ทรงศึกษาข้อมูลและทรงทดลองปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรมในบริเวณ เขตพระราชฐาน พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นเบื้องต้น ในชื่อ “โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” เมื่อพุทธศักราช 2504 ได้แก่ การเลี้ยงโคนม การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล ปลาหมอเทศ แปลงนาทดลอง ป่าไม้สาธิต โรงสีข้าว โรงบดแกลบ การคิดค้นพลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และไบโอดีเซล เพื่อนำข้อมูลจากการทดลองมาเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติในการดำรงชีวิต และพระราชทานแนวพระราชดำริไปยังหน่วยงานผู้ปฏิบัติและเกษตรกร

พร้อมโปรดเกล้าฯ ให้บำบัดความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้แก่ราษฎร อาทิ จัดตั้งศูนย์รวมนม เพื่อรับซื้อน้ำนมดิบล้นตลาดจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้าง “โรงนมผง สวนดุสิต” เพื่อแปรรูปน้ำนมให้เก็บไว้ได้นาน ต่อมา ได้ขยายโรงผลิตผลิตภัณฑ์จากนมเพิ่มเติม คือ โรงนมเม็ด สวนดุสิต โรงนม ยูเอชที สวนจิตรลดา และโรงเนยแข็ง ให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์นมแปรรูปคุณภาพดี ราคาไม่แพง

©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการคมนาคม

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริให้สร้างเส้นทางคมนาคมสัญจรหลายโครงการ เพื่อประโยชน์ของราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารและแนวชายแดนให้สามารถเข้าถึงสถานีอนามัย โรงพยาบาล โรงเรียน และส่งพืชผลการเกษตรมายังแหล่งจำหน่ายได้ง่ายขึ้น

ขณะเดียวกันทรงติดตามปัญหาการจราจรในกรุงดทพมหานครอย่างต่อเนื่อง และได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โครงการสร้างถนนวงแหวนรัชดาภิเษก, โครงการสร้างถนนกาญจนาภิเษก โครงข่ายถนนจตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก, โครงการสร้างทางยกระดับคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี สะพานพระราม 8, การสร้างเส้นทางลัดในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบริเวณถนนพระราม 9, โครงการสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม สะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2 และ โครงการตำรวจจราจรตามแนวพระราชดำริ เพื่อคอยช่วยอำนวยความสะดวกแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยวิกฤต หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดในสภาวะที่การจราจรบนท้องถนนติดขัดหนาแน่นไม่สามารถไปถึงโรงพยาบาลได้ทันการณ์ เป็นต้น

©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

พระราชกรณียกิจ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ในช่วงแรกเน้นเรื่องการแพทย์และ การสาธารณสุข เช่น พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตึกมหิดลวงศานุสรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า และผลิตยาป้องกันวัณโรค, พระราชทานเรือเวชพาหน์ เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ริมแม่น้ำ, พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน เพื่อช่วยแพทย์ซักถามอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อโดยการควบคุมจากระยะไกล และช่วยจิตแพทย์ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช

ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานทุนส่งเสริมการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ มูลนิธิราชประชาสมาสัย, มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล, พระราชทานทุนส่วนพระองค์ ได้แก่ ทุนภูมิพล, ทุนปราบอหิวาตกโรค และ ทุนวิจัยประสาท เป็นต้น

©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการศึกษา

ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นสำหรับเป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา, โรงเรียนราชวินิต ในพระบรมราชูปถัมภ์, โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ , โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และ โรงเรียนพระดาบส

ทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์และในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์, โรงเรียนร่มเกล้า ในพระบรมราชานุเคราะห์ และ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยครอบคลุมทุกสาขาอาชีพและทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก และพระราชทานทุนวิจัยสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย ทุนเล่าเรียนหลวง, ทุนอานันทมหิดล, ทุนนวฤกษ์ และ ทุนการศึกษาสงเคราะห์ ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์

ทรงก่อตั้ง มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม และพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านศาสนา

ทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ และประทับศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน ในฐานะองค์พุทธศาสนูปถัมภก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามราชประเพณีโดยสม่ำเสมอ, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง พระพุทธนวราชบพิตรขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด เพื่อประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร, พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อทำนุบำรุงและปฏิสังขรณ์พระอารามต่าง ๆ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกเพิ่มเติม และให้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับภาษาบาลี ฉบับแปลภาษาไทย และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการพัฒนาพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกจนสำเร็จ

ทรงอุปถัมภ์ศาสนาอื่นทุกศาสนาในแผ่นดินไทยทั้งศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ อาทิ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนการแปลพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย, เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ, เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับ ศาสนจักร ณ นครรัฐวาติกัน เมื่อ พ.ศ. 2503, เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชมกิจการด้านการแพทย์ การศึกษาขององค์กรคริสต์ศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย

และ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะพราหมณ์ คณะผู้แทนชาวไทยซิกข์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสต่าง ๆ

©หน่วยราชการในพระองค์

อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย

พระราชพิธี ทรงเห็นถึงความสำคัญขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต จึงทรงให้ฟื้นฟูพระราชพิธีบางอย่างที่เลิกปฏิบัติไปแล้ว แต่ทรงเห็นว่ามีประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประชาชน อาทิ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ช่วยรักษาราชประเพณีดั้งเดิม และเพื่อให้เรือพระราชพิธี ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี และ พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ช้างที่อยู่ตามธรรมชาติ เป็นต้น

โบราณสถานและโบราณวัตถุ ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเก็บรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ขุดพบตามท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งกรมศิลปากรได้สนองพระราชดำริด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ

งานจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ พระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ขึ้นใหม่ ทรงแก้ไขภาพร่างทุกภาพอย่างละเอียดด้วยพระองค์เอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งแบบแผนและเอกลักษณ์ของงานจิตรกรรมฝาผนังของไทย

การแต่งกาย พ.ศ. 2523 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเสื้อชุดไทยพระราชทาน เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทย

ภาษาและหนังสือ ทรงให้ความสำคัญกับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป

©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ

ระหว่าง พ.ศ. 2502 – 2510 ในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพื่อเจริญพระราชไมตรี และไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศใดอีก จนกระทั่งพุทธศักราช 2537 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนลาวเป็นประเทศสุดท้าย การเสด็จพระราชดำเนินเจริญพระราชไมตรีในช่วงดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในสังคมโลกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความร่วมมือแบบทวิภาคีในเวลาต่อมา อาทิ ความร่วมมือโครงการโคนมไทย – เดนมาร์ก, การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพันธุ์ปลานิลของญี่ปุ่นจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต และการได้รับเงินทุนสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี เฟลเลอร์ เพื่อการพัฒนาด้านการแพทย์และการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

แม้ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก แต่พระองค์ยังเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศด้วยทรงต้อนรับพระประมุขและประมุขต่างประเทศที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนหรือเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะหรือแขกของรัฐบาล, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ สำหรับพระราชทานแก่พระประมุขและประมุขต่างประเทศ พระราชอาคันตุกะสำคัญแห่งพระราชวงศ์ในยุโรปและเอเชียที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนประเทศไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีของราชอาณาจักรอื่นตามคำกราบบังคมทูลเชิญ โดยในพ.ศ. 2549 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างประเทศกว่า 25 ประเทศ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จมาทรงร่วมถวายพระพรชัยมงคล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน