ข น ตอน การ ตอก เสาเข ม ไมโคร ไพ ล

วิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

เตรียมนำตัวปั่นจั่นจัดให้ตรงกับตำแหน่งที่ต้องการทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ใช้การทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ้งหาจุดศูนย์กลางเพื่อหาระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile ตรงกับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้ จากนั้นนำเสาเสาเข็มไมโครไพล์ วางลงตำแหน่งที่กำหนดไว้

ทำการจับระดับน้ำตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้อง ตรวจสอบแนวดิ่งในตัวปั่นจั่นจากนั้นเริ่มตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกจนสุดแล้วเริ่มตามด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนที่ 2

หลังจากนั้นก็จัดการเชื่อมเต็มรอบหัวเสาเข็ม หัวใจสำคัญในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือตัวเสาเข็มไมโครไพล์จะต้องได้มาตราฐานตอกไม่แตก เนื้อปูนต้องได้คุณภาพ พร้อมทั้งเหล็กเส้นต้องเป็นเหล็กเส้นที่มีน้ำหนักเส้นเต็มได้มาตราฐาน

เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) ของบริษัทคอมพลีทไมโครไพล์ไม่สร้างความเสียหายให้กับตัวบ้าน และสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงที่แข็งแรง

การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ แนะนำให้ห่างจากสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และควรพิจารณาถ้าจะตอกเสาเข็มไมโครไพล์ใกล้เสาเข็มเดิมควรให้ห่างจากเสาเข็มเดิมบริเวณนั้นอย่างน้อย 2 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง

มีเสียงเครื่องยนต์และเสียงกระแทกที่จะดังและสะเทือนบ้างในช่วงถึงชั้นดินแข็ง

1 วันเราสามารถตอกได้ประมาณ 2 – 3 ต้น เราจะเน้นคุณภาพตอกให้ลึกสุด ถึงชั้นทราย หรือดินดาน ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะพื้นที่หน้างานด้วยครับ

มีหลายคนถามเข้ามานะครับว่าทำแค่ทางเดินต้องลงเสาเข็มไมโครไพล์มั้ย ต่อเติมหลังบ้านเล็กๆต้องลงเสาเข็มไมโครไพล์มั้ย เมื่อไรที่ต้องเลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์ จะตัดสินใจว่าลงเสาเข็มไมโครไพล์หรือไม่ลงเสาเข็มไมโครไพล์ ต้องพิจารณาก่อนว่ายอมรับให้ทรุดตัวได้มั้ย เช่น ถ้าคุณต่อเติมครัวแล้วถ้ามันทรุด ปัญหาน้ำรั่ว เกิดรอยร้าว จิ้งจกแมลงเข้ามา พื้นทรุดต่างระดับในอนาคต ซึ่งถ้ายอมรับไม่ได้ แนะนำเลยต้องลงเสาเข็มไมโครไพล์ แต่ถ้าทำทางเดินข้างบ้านซึ่งถ้าเกิดทางเดินมันจะทรุดตัวไปในอนาคต บางบ้านก็อาจจะไม่ได้เดือดร้อนเพราะอาจจะไม่ค่อยได้เดินก็ไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็มไมโครไพล์ แต่ถ้าบางบ้านเป็นทางเดินเหมือนกัน แต่ไม่อยากมาทำใหม่ในอนาคต หรือมีเด็กหรือคนแก่กลัวว่าจะเดินสะดุด ก็อาจจะลงเสาเข็มไมโครไพล์ไปเลย เสาเข็มไมโครไพล์ สามารถเข้าพื้นที่แคบได้ สะเทือนน้อย และตอกได้ลึกถึงดินดานจึงนิยมนำมาใช้ในการต่อเติมบ้าน การลงเสาเข็มไมโครไพล์สำหรับต่อเติม จะไม่เกิดปัญหาการทรุดตัว ฉีกออกจากตัวบ้าน เพราะปลายเข็มจะอยู่ในชั้นดินเดียวกับตัวบ้านหลัก และบริษัทเราจะเน้นการตอกให้ได้ลึกที่สุด และการตรวจสอบ โบว์เค้าท์ (Blow count) เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง พร้อมวิศวกรออกแบบ และรับรองการรับน้ำหนักให้

เสาเข็มไมโครไพล์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

  • ประเภทที่1 เสาเข็มไมโครไพล์แบบ underpining ไว้สำหรับแก้ไขส่วนต่อเติมหรือ สิ่งปลูกสร้างที่ทรุดตัว ใช้เสริมใต้คานบ้านใต้ดิน ต้องขุดดินไปทำใต้ตัวอาคาร
  • ประเภทที่2 เสาเข็มไมโครไพล์ชนิดตอก ซึ่งใช้สำหรับพื้นที่จำกัด การสั่นสะเทือนน้อย แต่ต้องการลงเข็มลึกและไม่ทรุด เช่น ต่อเติมบ้าน สร้างบ้าน หรือพื้นโรงงาน เสาเข็มไมโครไพล์แบบนี้ นิยมใช้ เสาเข็มเป็นรูปตัวไอ ไอไมโครไพล์ และเสาเข็มชนิดสปันอัดแรง เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micropile, Microspun)
  • เสาเข็มไมโครไพล์แบบไอ มี (i18, i22, i26, i30) ขนาดหน้าตัดไอ18 (i18) หมายถึงอะไร หมายถึงขนาดเป็นรูปตัวไอ กว้าง 18 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร ขนาดไอ22 (i22) คือเสาเข็มรูปตัวไอ กว้าง 22 เซนติเมตร ยาว 22 เซนติเมตร ไอ26 (i26) คืออะไรก็คือหน้าตัด 26 เซนติเมตร 26 เซนติเมตร ส่วนความลึกก็ขึ้นอยู่กับชั้นดินบริเวณนั้นๆว่าจะตอกลงไปลึกได้เท่าไหร่ และขึ้นกับการคำนวณ last ten blow ที่วิศวกรกำหนด
  • เสาเข็มสปันไมโครไพล์ คือ เสาเข็มที่มีลักษณะเป็นวงกลมและมีรูตรงกลาง กระบวนการผลิตคือการอัดแรงเหวี่ยง คือ การเหวี่ยงเอาฟองอากาศออกไปทำให้คอนกรีตมีความหนาแน่นมากขึ้น ซึ่งต้องสังเกตดีๆ เพราะมีการทำเสาเข็มที่หน้าตาเหมือนกัน แต่ไม่ผ่านการอัดแรงเหวี่ยง ซึ่งต่อให้ใช้คอนกรีตสเต๊งสูงเอามาเทแต่ไม่ผ่านกระบวนการอัดแรงเหวี่ยง ก็ไม่ดีเท่ากับผ่านกระบวนการอัดแรงเหวี่ยง ดังนั้นอย่าสั่งแค่เสาเข็มกลมควรเช็คสเป็คให้แน่ใจก่อน

การเลือกใช้เสาเข็มว่าจะใช้อันไหนดี ระหว่างเสาเข็มไมโครไพล์รูปตัวไอ หรือเสาเข็มไมโครสปันอัดแรง ให้ดูว่าเราจะสร้างอะไร รับน้ำหนักเท่าไร หรือสามารถปรึกษาวิศวกรเราได้ การเลือกชนิดของเสาเข็มและขนาดหน้าตัดขึ้นกับการรับน้ำหนัก และสิ่งที่จะปลูกสร้าง ยกตัวอย่างเช่น งานต่อเติมชั้นเดียวส่วนมากใช้เสาเข็มไมโครไพล์ขนาดไอ18 เซนติเมตร ซึ่งรับน้ำหนักได้ 15 ตัน/ต้น safe factor 2.5 เท่า ซึ่งหมายถึง ค่าสูงสุดที่รับได้ 2.5×15 ตัน = 37.5 ตัน แต่ตามหลักวิศวกรรม ให้ใช้น้ำหนักปลอดภัยที่ 15 ตัน ถ้าไม่แน่ใจโทรปรึกษาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างของบริษัทเราก่อนได้ Tel: 0645649789

ความเข้าใจผิดของคนส่วนมากตามมาตรฐาน มอก. การผลิตเสาเข็มตัวไอต้องใช้ ลวดชนิดอัดแรง หรือ PC Wire 4 มม. ซึ่งมันดูเหมือนเหล็กเส้นเล็กๆไม่แข็งแรงเท่ากับเหล็กเส้น หรือเหล็กข้ออ้อย แต่ความจริงคือมันมีคุณสมบัติที่ต่างกัน! หน้าที่ของลวดอัดแรง หรือ PC wire คือใช้ในการทำคอนกรีตอัดแรง (pre-stress concrete) ในการผลิตจะมีการดึงลวดพอคอนกรีตเริ่มแข็งก็จะตัดลวดทำให้เกิดแรงอัดขึ้นมา คอนกรีตก็จะมีความแข็งแรงมากขึ้น หลักการเดียวกับการทำพื้นสำเร็จ ไม่มีใครใช้เหล็กกลม หรือข้ออ้อยมาทำ เพราะความแข็งแรงจะสู่ไม่ได้ แต่ทุกวันนี้มีการใช้เหล็กเส้นกลม หรือข้ออ้อยมาใช้อย่างเดียว และไม่ใช้ลวดอัดแรง **และบอกนี้ไงเหล็กใหญ่กว่าซึ่งเป็นความเข้าใจกันที่ผิด ปกติบริษัทเราจะผลิตไมโครไพล์เป็นกระบวนการคอนกรีตอัดแรง (PC WIRE) แต่ถ้าลูกค้าท่านไหนต้องการเป็นเหล็กกลม หรือข้ออ้อยจริงๆ เราก็สามารถผลิตให้ได้ครับ

เสาเข็มไมโครไพล์ของโรงงานเรามีแบบตีตรา มอก. และเทียบเท่า มอก. คือเสาเข็มของเราจะมีขนาดหน้าตัดที่เท่ากับ มาตรฐาน มอก. ทั้งหมด (เราไม่มีแบบที่เสาเข็มผอม หรือบางกว่าแบบคนอื่นๆ) เสาเข็มของเราที่ไม่ตีตรา มอก.เราจะเรียกว่าเข็ม “เทียบเท่ามอก.” จุดแตกต่างของการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตีตรา มอก. และ ไม่ตีตรา มอก. คือ เหล็กcolar ที่รอบแผ่นplate และจำนวนลวดอัดแรง (PC WIRE 4 mm.) ที่เพิ่มขึ้นมา 2 เส้น ถ้าถามว่าควรใช้แบบไหน ถ้าลูกค้ามีงบประมาณที่ถึงและต้องการแบบมีมาตรฐานรับรองก็แนะนำให้ใช้แบบตีตรา มอก. ครับ แต่ถ้างบจำกัดก็ใช้แบบไม่มอก.ได้ครับ เพราะบริษัทเราจะมีใบรับรองน้ำหนักบรรทุกให้เหมือนกันครับ

แบ่งเป็น 1. การพิจารณาอุปกรณ์ 2. พิจารณาการตอก 3. พิจารณากระบวนการทดสอบ

  1. การพิจารณาอุปกรณ์ ปั้นจั่นต้องแข็งแรง มีใบตรวจสภาพปั้นจั่น ตุ้มควรมีน้ำหนัก 1.35 ตัน เล็กไปก็ไม่ดีครับ ทำให้ตอกไม่ลงหรือลงได้ไม่ลึก ใหญ่เกินไปสั่นสะเทือน การตอกตุ้มจะถูกทิ้งลงมาในแนวดิ่ง เหล็กรางตุ้มต้องได้ดิ่ง ดังนั้นตะเกียบต้องสามารถปรับระดับได้ โครงสร้างปั้นจั่นต้องแข็งแรง ช่างต้องมีประสบการณ์ในการเคลื่อนปั้นจั่น และเซทเครื่องให้ได้ดิ่ง บางครั้งตอกๆไปดินอาจจะทรุด ปั้นจั่นไม่ได้ดิ่ง ช่างต้องคอยเสริมให้ได้ดิ่ง ดังนั้นช่างต้องมีความชำนาญ และมากประสบการณ์
  2. การพิจาราณาการตอก การตอกต้องได้มาตรฐานเป็นมาตรฐาน ท่อนแรกต้องมีการดิ่งหาตำแหน่งศูนย์กลางเสาเข็ม ลอยเชื่อมต้องเชื่อมให้รอบและลอยเชื่อมต้องสวยและสนิท อย่างช่างของบริษัทของเราช่างเชื่อมทุกคนต้องผ่านมีใบเซอร์ช่างเชื่อม และผ่านการสอบว่ารอยเชื่อมต้องมีคุณภาพ และเสาทุกท่อนต้องได้ดิ่งมีการจับระดับน้ำตรวจสอบ
  3. การพิจาราณากระบวนการทดสอบเช็คโบว์เค้า (Blow count) และลาสเทนโบว์ (last ten blow) วิศวกรของเราจะทำการคำนวณออกแบบว่าต้องใช้ last ten blow หรือระยะการจมของเสาเข็มเมื่อตอก 10 ครั้งว่าต้องระยะการจมเท่าไร จึงจะได้ค่าการรับน้ำหนักสูงสุด หรือได้ค่าการรับน้ำหนักที่ต้องการ ค่า Last Ten Blow คือค่าการจมจากการตอก 10 ครั้ง เช่น last ten blow 1 เซนติเมตร แปลว่า ตอก 10 ครั้ง ลง 1 เซนติเมตร / ของบริษัทเรา last ten blow อยู่ที่ 2 – 3 มิลลิเมตร แปลว่า ตอก 10 ครั้งลง 2 – 3 มิลลิเมตร แปลว่าแทบตอกไม่ลง และได้ค่าการรับน้ำหนักสูงสุดที่เสาเข็มขนาดนั้นๆ ทำได้ เรียกว่าเค้นกันสุดๆ เราถึงหยุดตอก

สอนเทคนิคการดูเสาเข็มไมโครไพล์เบื้องต้นว่าใช้กี่ต้น เสาเข็มไมโครไพล์จริงๆแล้วมันสามารถรับน้ำหนักน้ำหนักเท่าไหร่ก็ได้ขึ้นกับชนิดและขนาดที่เราเลือกใช้ ดังนั้นจำนวนต้นต้องอยู่กับการออกแบบโครงสร้าง ส่วนมากทำการออกแบบโครงสร้างแบบมีคานคอดิน ซึ่งส่วนมากจะนิยมทำคานใหญ่สุดที่ 20×40 เซนติเมตร ซึ่งทำให้ระยะห่างระหว่างเสาห่างกันได้ไม่เกิน 4 – 4.5 เมตร ทั้งนี้ถ้ามีวิศวกรคำนวณออกแบบก็สามารถมีระยะห่างกว่านี้ได้ ดังนั้นจึงนิยมประมาณห่างกัน ไม่เกิน 4.5 เมตร ขออนุญาติยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

  • สมมุติจะต่อเติมบ้านขนาด กว้าง 3 เมตร ยาว 7 เมตร เราต้องใช้เสาเข็มไมโครไพล์ จำนวณ 6 ต้น เพราะ เราไม่สามารถมีระยะห่างระหว่างเสาเข็มไมโครไพล์ ได้ 7 เมตร เพราะขนาดต้องใหญ่มาก และมีโอกาสแอ้น (ตกท้องช้าง)ได้
  • ตัวอย่างที่2 ถ้าต่อเติมครัว ขนาด 4×4 เมตร ควรใช้เสาเข็มไมโครไพล์กี่ต้น คำตอบคือใช้เสาเข็มไมโครไพล์ 4 ต้น
  • ตัวอย่างที่3 ถ้าจะต่อเติมโรงรถขนาด 5 x 5 เมตร ควรใช้กี่ต้น ใช้เสาเข็มไมโครไพล์จำนวน4ต้น หลายคนอาจสงสัยว่าได้หรอ ไม่ควรห่างเกิน 4.5 เมตรรึเปล่า จริงๆ เราออกแบบให้เสาเข็มเข้ามาซ้ายขวา อย่างละ 50 cm. แล้วออกแบบไปคานยื่นออกไปแทน ดังนั้นตรงกลางจะเหลือห่างแค่ 4 เมตร ถ้าใครไม่เข้าใจสามารถโทรปรึกษาวิศวกรบริษัทที่ Tel: 0645649789

บริษัทเราให้บริการทั้งเข็มไมโครไพล์ และเข็มเจาะ ดังนั้นเราไม่ได้ลำเอียงไปข้างได้ข้างหนึ่งในคำถามนี้ เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มที่หนึ่งท่อน มีขนาดความยาว 1.50 เมตร และมาเชื่อมต่อกัน โดยเสาเข็มไมโครไพล์ชนิดตอก สามารถเข้าพื้นที่แคบได้ ตอกลึก และสามารถตรวจสอบการรับน้ำหนักเบื้องต้นได้ด้วยวิธีการเช็คโบว์เค้า (ไม่มีดินที่ขนขึ้นมา) ส่วนเสาเข็มเจาะทั่วไป หรือเสาเข็มเจาะแบบเจาะแห้ง คือการตอกปอกเหล็กลงไป เพื่อเจาะดินขึ้นมา พอเจาะเจอชั้นที่มีดินผสมทรายก็จะหยุดเจาะ จากนั้น หย่อนเหล็กที่ผูกไว้และ เทคอนกรีตลงไป และควรทำการเจาะสำรวจดิน หรือ soiltest ก่อนตอกเผื่อคำนวณความลึก (ต้องขนดินที่เจาะขึ้นมาทิ้ง) ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์คือ ใช้พื้นที่ในการตอกน้อย เข้าที่แคบได้ ตอกได้ลึก และสามารถเช็คโบว์เค้าท์ หาค่าการรับน้ำหนักของเสาเข็มเบื้องต้นได้ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งงานสร้างใหม่ และงานต่อเติม แต่สำหรับงานต่อเติมถือว่าเป็นเสาเข็มที่ควรใช้มากที่สุดเพราะสามารถลงลึก และมีปลายเข็มอยู่ชั้นดินเดียวกับตัวบ้าน ทำให้ไม่เกิดปัญหาการทรุดตัวแยกออกกจากสิ่งปลูกสร้างเดิม ส่วนเสาเข็มเจาะคือ เข็มที่ทำการเจาะดินขึ้นมา ข้อดีคือ ไม่มีรอยต่อ แต่มีโอกาสตอกไปไม่สุดเพราะการหยุดตอกเพียงแค่เจอชั้นดินผสมทราย และไม่สามารถเค้นได้เพราะอาจทะลุไปเจอน้ำแล้วจะไม่สามารถเทคอนกรีตลงไปได้ เสาเข็มไมโครไพล์ก็คือเสาเข็มที่มันต่อกันแล้วก็เชื่อมต่อกันข้อดีคือ มันตอกได้ลึกสามารถตรวจสอบการรับน้ำหนักและความสมบูรณ์ได้ และตอกให้ถึงชั้นดินเดียวกับตัวบ้านทำให้การทรุดตัวมันไม่เกิดขึ้น แต่ข้อกังวลเกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์คือมีรอยเชื่อมต่อ ถ้าใช้ช่างเชื่อมไม่มีความสามารถก็อาจจะทำให้มีปัญหาได้ ปกติบริษัทเราจะเน้นรอยเชื่อม ช่างเชื่อมของเราต้องมีใบรับรองช่างเชื่อม และมีประสบการณ์มากเท่านั้นดังนั้นเรื่องคุณภาพรอยเชื่อมต่อสบายใจได้ เสาเข็มเจาะก็คือเสาเข็มที่เจาะดินขึ้นแล้วใส่เหล็กเทคอนกรีตเหมาะกับสร้างใหม่มากกว่างานต่อเติมครับ เนื่องจากใช้พื้นที่มากกว่า ปลายเข็มอาจจะมีโอกาสอยู่กันคนละชั้นกับตัวบ้านหลัก

การทดสอบน้ำหนักของเสาเข็มไมโครไพล์จะมีวิธีการที่ใช้การตรวจสอบ คือ การเช็คโบว์เค้า (blow count) หรือ last ten blow ซึ่งการทิ้งตุ้มลงมา 10 ครั้ง ดูระยะการจมลงของเสาเข็มต้องได้ตามที่วิศวกรของเรากำหนด ซึ่งมาตรฐานของบริษัทคอมพลีทไมโครไพล์ของเราจะเป็นหลักมิลลิเมตร ประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร และจะทำการตรวจสอบอยู่แล้วทุกต้น เพื่อให้มั่นใจว่าเสาเข็มแข็งแรง ไม่มีปัญหา สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่วิศวกรกำหนด วิธีการเทสอีกวิธีหนึ่งที่เค้าเรียกว่าไดนามิคเทส (Dynamic test) คือ การที่สเตนเกท (Strain Gaug) ติดที่เสาเข็ม และทิ้งตุ้มทดสอบค่าการรับน้ำหนักสูงสุดที่เราต้องการ

ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์ สามารถเข้าที่แคบได้ สะเทือนน้อย ปลอดภัย ตอกลึกถึงดินดานพื้นไม่ทรุดตัว ค่าใช้จ่ายไม่แพง คุ้มค่า ถ้าเทียบกับว่าทำมาแล้วทรุด มีปัญหาก็ต้องทำใหม่

เสาเข็มไมโครไพล์เนื้อปูนต้องได้มาตรฐาน ไม่มีรอยร้าว และความแข็งแรงต้องได้อายุเสาเข็มไมโครไพล์ต้องไม่ต่ำกว่า 7 วัน ถ้าเป็นเข็มสปันอัดแรงเหวี่ยง เนื้อคอนกรีตต้องเนียน ไม่มีรูพรุน ไม่มีรอยร้าว อายุคอนกรีตเสาเข็มต้องไม่ต่ำกว่า 3 วัน

การเช็ค blow count คือ การตรวจสอบว่าในจม 1 ฟุตต้องทำการตอกกี่ครั้ง ส่วน last ten blow คือการตอก 10 ครั้ง และดูระยะการจมของเสาเข็ม สำหรับงานเสาเข็มไมโครไพล์มักจะใช้แค่ Last ten Blow เพราะค่าการจมที่น้อยมาก อย่างของบริษัทเราจะอยู่ที่ 2 – 3 มิลลิเมตร แปลว่าต้องตอก 10 ครั้ง เสาเข็มลง 2 – 3 เมตร หรือตอกหนึ่งครั้งลงไม่ถึงครึ่งมิลลิเมตร หรือเรียกว่าตอกแทบไม่ลง เราจึงหยุดตอก

การทดสอบความแข็งแรงของเสาเข็มไมโครไพล์ที่ใช้กันส่วนมาก คือการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มไมโครไพล์ หรือเรียกกันว่า เช็ค Blow Count และ Last ten blow ซึ่งบริษัทเราจะทำการตรวจสอบทุกต้นอยู่แล้ว ก็จะรู้ว่าเสาเข็มแข็งแรงไม่เฟล และรับน้ำหนักได้เท่าไหร่ อีกวิธีเป็นการทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธีไดนามิคเทส Dynamic test ปกติจะทำโดยบริษัทอื่น เพื่อความโปร่งใส คือการนำเสาเข็มมาติดสเตนเกท (Strain Gauge) และทิ้งตุ้ม แล้วดูค่าการรับน้ำหนักสูงสุดที่เราต้องการ สามารถรับน้ำหนักได้มั้ย จากนั้นอ่านกราฟที่ได้

  • ทีมช่างมากประสบการณ์พร้อมใบเซอร์ สามารถทำงานในนิคม safety 100% ได้
  • อุปกรณ์มีใบเซอร์ การตรวจสอบ
  • มีใบรับรองน้ำหนักจากวิศวกร
  • เราส่งรูปเสาเข็มทุกท่อนพร้อมตัวเลขบนเสาเข็มเพื่อให้ลูกค้าทราบว่าใช้เสาเข็มไปกี่ท่อน และลึกเท่าไร
  • ผ่านการฝึกอบรมช่างเชื่อมและการบังคับปั้นจั่น ทุกทีมมีประสบการณ์การตอกมากกว่า 100 ต้น
  • ส่งรูปการต่อ เชื่อมทุกขั้นตอน มั่นใจได้
  • มีการจำระดับน้ำทุกท่อน เสาได้ดิ่ง ปั้นจั่นได้ระดับ
  • เสาเข็มที่ใช้มีมาตรฐาน โรงงานมี มอก.
  • สามารถเข้าที่แคบได้
  • สะเทือนน้อยแม้ตอกชิดกระจก ก็ปลอดภัย
  • ตรวจสอบความแข็งแรงของเสาเข็มและการรับน้ำหนักทุกต้น และตรวจเช็คโบว์เค้า (Blow Count)
  • การทำงานที่เน้นคุณภาพถูกหลักมาตรฐานวิศวกรรม
  • ที่เดียวที่กล้ารับประกัน “ตอกไม่ดี เราตอกใหม่ให้ฟรี” สนใจสอบถามวิศวกร หรือราคาโปรโมชั่น โทร 06-4985-9874

จังหวัดอะไรก็สามารถลงเสาเข็มไมโครไพล์ได้ครับ แต่ความลึกของการลงเสาเข็มต้องขึ้นกับชั้นดินในบริเวณนั้นๆ ด้วยครับ อย่างกรุงเทพจะลงค่อนข้างลึกส่วนมาก 18 – 21 เมตร ถ้ากรุงเทพแถวบางพลี บางบ่อ จะประมาณ 23 – 26 เมตร และระยองส่วนมากประมาณ 9 – 12 เมตร ทั้งนี้อย่าลืมคิดด้วยว่าถ่มขึ้นมากี่เมตร ปกติชั้นดินของกรุงเทพ 6 เมตรแรกเป็นชั้นดินอ่อนจะไม่สามารถรับน้ำหนักอะไรได้

ราคาเสาเข็มไมโครไพล์ มีราคาประมาณ 9,000 – 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดเสาเข็ม ขนาดหน้าตัดเสาเข็ม ตำแหน่งที่ตั้งบริเวณหน้างาน และจำนวนต้นที่ใช้ เนื่องจากตุ้มหน้าหนักเรามีมาตรฐาน การเคลื่อนย้ายไม่สามารถใช้รถกะบะได้ ต้องใช้รถหกล้อ ซึ่งถ้ามีการตอกหลายต้น ค่าขนส่งจะถูกเฉลี่ยลง ราคาต่อต้นก็จะถูกลง โดยในกทม. 1 ต้น ใช้ 12 – 14 ท่อน ตอกลึก 18 – 21 เมตร แต่ทั้งนี้ต้องดูชั้นดินบริเวณนั้นๆด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน