2024 ทำไม game of thrones ไม เข าช งemmy 2024

ความโด่งดังของเซนดาย่า (Zendaya) หลังจากรับบท MJ ในหนังสไปเดอร์แมนของจักรวาลมาร์เวล คลิปตัดสั้นในแอปฯ Tik Tok กับชื่อเสียงที่เพิ่มพูนขึ้นแบบปากต่อปากในเรื่องของคุณภาพและความโดดเด่นของตัวซีรีส์ ทำให้การกลับมาของซีรีส์ Euphoria ในซีซั่น 2 พุ่งพรวดอย่างไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ เพราะนอกจากจะทำแอปฯ HBO Max ล่มทั่วโลกแล้ว ยังทำลายสถิติเปิดตัวมากกว่าซีซั่นที่แล้วถึง 2 เท่าอีก และจบลงด้วยเรตติ้งยอดคนดูสูงที่สุดของ HBO โดยเป็นรองแค่ Game of Thrones เท่านั้นอีกด้วย

บทความนี้เลยขอทำหน้าที่จะพาไปแนะนำ สำรวจ และวิเคราะห์ซีรีส์ Euphoria ทั้ง 2 ซีซั่น เพื่อเป็นการกวักมือเรียกให้คนไม่เคยดูตามมาเป็นสาวกด้วยกัน ส่วนคนที่ดูทั้งสองซีซั่นแล้วก็สามารถอ่านได้เช่นเดียวกัน อาจมีสปอยล์บ้างบางจุดสำหรับคนที่ยังไม่ได้ดู แต่มั่นใจว่าอ่านแล้วจะไม่เสียอรรถรสการดูแน่นอน

จริงๆ แล้วเรียกชื่อซีรีส์ให้ถูกจะต้องเรียกว่า ‘Euphoria US’ เพราะซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากซีรีส์ชื่อเดียวกันของประเทศอิสราเอล โดยผู้สร้างที่ชื่อ รอน เรเชม (Ron Reshem) ที่บอกเล่าเรื่องราวของการใช้ยา อาวุธปืน เซ็กซ์ ความหดหู่จากการเติบโตของวัยรุ่น การสูญเสียพ่อแม่ ครอบครัวร้าวฉาน และการฆาตกรรม แต่พอออกอากาศไปได้ 1 ซีซั่นก็ถูกระงับการฉายทันทีด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่โจมตีว่าซีรีส์เล่นแรงเกินไป จนผู้สร้างออกมาน้อยใจผ่านสื่อว่า “อยู่ประเทศนี้ที่จำกัดอิสระในการสร้างสรรค์แบบนี้ สงสัยผมคงไม่สามารถทำงานอาชีพนี้ที่นี่ได้จริงๆ”

ต่อมาผู้สร้าง แซม เลวินสัน (Sam Levinson) ที่เพิ่งจะทำหนังแอ็กชั่นเฟี๊ยสๆที่ชูตัวละครหญิง 4 คนอย่าง Assassination Nation (2018) ก็ได้มานั่งคุยกับเฮด HBO ในขณะนั้นว่าอยากนำเรื่องนี้ไปสร้างเป็นซีรีส์ในอีกฉบับ ซึ่งหลังจากนั่งคุยอยู่นาน บทสนทนาปิดท้ายด้วยการที่แซมบอกกับ HBO ว่า เขาเคยติดยามาก่อนตอนเป็นวัยรุ่น และต้องการที่จะถ่ายทอดชีวิตเหลวแหลกและน่าสับสนเจ็บปวดตอนนั้นออกมาเป็นซีรีส์เพราะเขาเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ ช่องจึงไฟเขียวให้กับโปรเจ็กต์ทันที และออกมาเป็นซีรีส์ Euphoria เรื่องนี้ โดยมีตัวละครบางตัวที่ชื่อ รู (Rue), เฟซโก้ (Fezco) กับแคท (Kat) ถูกถอดแบบมา และที่เหลือเป็นการสรรค​สร้างตัวละครขึ้นมาใหม่พร้อมๆ กับเส้นเรื่องและสไตล์การเล่าเรื่องที่แซมเลือกที่จะฉีกแนวจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง

ทำไปทำมา กลายเป็นว่าฉบับ US—ที่เกิดจากความร่วมมือกันของ HBO กับ A24 ที่ขึ้นชื่อเรื่องให้อิสระในการสร้างสรรค์และการทำงาน กับผู้สร้างทั้งสองเวอร์ชั่น และแร็ปเปอร์ชื่อดังอย่างเดรค (Drake) ผู้เคยโด่งดังจากซีรีส์วัยรุ่นอย่าง Degrassi (2001) ที่มาเสริมทัพในฐานะโปรดิวเซอร์—ได้รับความชื่นชมอย่างล้นหลาม จนมีคนเอาไปเปรียบเทียบว่าทำได้ดีกว่าต้นฉบับที่ขาดความหลากหลายซับซ้อนและน่าสนใจหลายเท่า แม้ว่ารอน เรเชม จะมีส่วนร่วมในการโปรดิวซ์และเขียนบทซีรีส์เรื่องนี้ด้วยก็ตาม

Euphoria มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครเด็กวัยรุ่นไฮสคูลแห่งโรงเรียน East Highland High School ที่ใช้ชีวิตในช่วงก้ำกึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตใต้อาณัติพ่อแม่ผู้ปกครอง ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ช่วงเวลาการเป็นผู้ใหญ่ที่เติบโตเรียนรู้อะไรจนหาลู่ทางของการใช้ชีวิตเจอและแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไรได้แล้ว แต่กว่าจะถึงตอนนั้นต้องผ่าน’ช่วงผลัดใบ’ ก่อน ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเอาเสียเลย วัยที่ทั้งได้อะไรบางอย่างมา เสียอะไรบางอย่างไป และต้องทำความเข้าใจเรียนรู้กับมันในสภาวะที่ทั้งมั่นใจ-ไม่มั่นใจในตัวเองผสมปนเปกันไปแบบที่ยากจะแยกออก เดายากแม้กระทั่งตัวเองกำลังรู้สึกยังไงหรือต้องการอะไร

ถ้าเอาคำพูดที่นึกออกเกี่ยวกับการเป็นวัยรุ่นมายำรวมกันให้หมด ไม่ว่าจะเป็น ‘วัยรุ่นคือช่วงเวลาแห่งการค้นหาตัวเอง’ ‘ทำไมการเป็นวัยรุ่นถึงเจ็บปวดขนาดนี้นะ’ ‘วัยรุ่นคือวัยแห่งความสับสนอลหม่าน’ ‘วัยรุ่นหลงทางได้ง่าย’ ‘วัยรุ่นคือวัยที่เต็มไปด้วยอารมณ์หลากหลายที่สุด’ ‘วัยที่เอาแน่เอานอนยังไม่ได้’ ‘วัยที่อารมณ์ไม่คงที่และมีแนวโน้มจะใช้อารมณ์ชี้นำมากกว่าเหตุผล’ ‘วัยที่อ้างอิงกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเป็นอย่างมาก’ กับอีกมากมายที่นึกออก ทั้งหมดนั้นก็คือสิ่งที่ Euphoria กำลังจะพูดถึง

เพียงแต่สิ่งที่ทำให้ซีรีส์เรื่องนี้ไม่เหมือนหนัง Mean Girls หรือซีรีส์วัยรุ่นเรื่องอื่นๆ อย่าง Sex Education กับ 13 Reasons Why, Degrassi หรือ Skins ไม่ใช่เพราะเป็นซีรีส์ teenage drama หรือแนววัยรุ่นดราม่าเรื่องแรกของช่อง HBO แต่เพราะสไตล์การนำเสนอจากผู้สร้าง แซม เลวินสัน ที่ใช้ความ ‘ภาพยนตร์เป็นศิลปะแขนงที่ 7 ที่รวมเอาไว้ซึ่งทุกศาสตร์’ ได้อย่างคุ้มค่า เปลี่ยนซีรีส์เรื่องนี้ให้เป็นมากกว่าแค่คำว่า ‘ซีรีส์วัยรุ่น’ คือการบียอนด์จนกลายเป็นคำว่า ‘งานศิลปะและวรรณกรรม’

“ซีรีส์เรื่องนี้คือการแค็ปเจอร์ช่วงเวลาเหล่านั้น ทั้งความสัมพันธ์ ความหมกมุ่น ความวิตกกังวล และห้วงอารมณ์ที่ล้นพ้นของการเป็นวัยรุ่น” แซม เลวินสัน กล่าว

เอกลักษณ์ของ Euphoria มาจากการตีโจทย์แตกด้วยการนำ ‘การเป็นวัยรุ่น’ ผสมผสานกับความสุดขั้วสุดโต่งของ HBO ที่เน้นซีรีส์เนื้อหาโจ่งแจ้ง ถึงอกถึงใจ เจนจัด และที่สำคัญคือมักจะนำเสนอมุมมืดอย่างคำหยาย ยาเสพติด เรื่องเซ็กซ์ ความรุนแรง และฉากนู้ดอย่างตรงไปตรงมา ด้วยเนื้อหาแนว ‘อาชญากรรม-ดราม่า’ อย่างเรื่องที่ผ่านมาไม่ว่า The Wire, The Sopranos, Oz, Boardwalk Empire, True Detective หรือแม้กระทั่งซีรีส์ประวัติศาสตร์แนวฆ่าฟันอย่าง Rome ก็ตาม

การประกอบสร้างของ ‘ความ HBO’ เหล่านี้ กับการที่ยุคสมัยได้เปลี่ยนผ่าน จึงถือกำเนิดเป็นซีรีส์ Euphoria ที่โดยส่วนตัวนิยามว่าเป็นซีรีส์ ‘neo-HBO’ หรือซีรีส์เปิดศักราชใหม่ของ HBO ที่ตีแผ่ทั้งด้านวัยรุ่นและด้านอาชญากรรมไปพร้อมๆ กับวิธีนำเสนอหรือมู้ด & โทนที่เน้นการกระตุ้นอารมณ์คนดู (emotional arousing) ด้วยการขับเน้นประเด็นเหล่านั้นโดยใช้ภาพ แสง สี เสียง เพลงประกอบ เทคนิคการเล่าเรื่อง เสื้อผ้าหน้าผม เมคอัพ ทุกอย่างล้วนเป็นการคัดสรรค์มาอย่างประณีตตั้งใจ เพื่อชี้นำให้คนดูรู้สึกถึงประเด็นที่ซีรีส์กำลังนำเสนอ อารมณ์ตัวละคร ณ ขณะนั้น และสร้างห้วงอารมณ์ให้คนดูรู้สึกเท่าๆพร้อมๆกับตัวละครอย่างเห็นภาพ ไม่ว่าจะเป็น สุข ทุกข์ โกรธ เศร้า เหงา ซึ้ง รัก เกลียด หวาดระแวง เครียด เมายา หรือนอกเหนือจากนั้นด้วยวิธีการเล่าที่ดูเซอเรียลและผสมรูปแบบนิยม (formalism) ที่มีความเป็นนามธรรมในบางครั้ง อีกทั้งยังมีการเสียดสีล้อเลียนงานศิลปะคลาสสิกกับบุคคลที่มีอยู่จริง และให้ตัวละคร รู (Rue) ทำลายกำแพงที่ 4 (Breaking the Forth Wall) ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับคุยกับคนดูอีกด้วย

ไดอะล็อกกับการเล่าเรื่อง—ตั้งแต่คมคาย ไปจนถึงบ้าบอ—ก็เป็นอีกจุดเด่นของเรื่อง ไม่น้อยไปกว่าเนื้อเรื่องกับการกระทำตัวละครที่ตามอำเภอใจจนคาดเดาไม่ได้ การแคสต์ติ้งที่ยอดเยี่ยมแม้ว่านักแสดงหลายคนเพิ่งแสดงเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ตัวละครที่มีมิติ ที่มาที่ไป และปูมหลังแน่นจนน่าจดจำด้วยการใช้นักแสดงเป็นแบบตัวละครกับการให้นักแสดงมีส่วนในการสร้างออกแบบตัวละครด้วย และการแสดงของนักแสดงที่ได้ปล่อยอารมณ์กันแบบไม่ยั้งมือ โดยเฉพาะเซนดาย่าฉากทะเลาะกับครอบครัวเรื่องใช้ยาในทั้งสองซีซั่นที่ซีซั่นแรกพาเธอคว้านำหญิง Emmy Awards ตัวแรกในชีวิตไปครอง และซีซั่น 2 ก็มีวี่แววว่าจะซ้ำรอยเช่นกัน

นอกจากนี้ซีรีส์เรื่องนี้ยังขึ้นชื่อเรื่องความบ้าพลังราวกับฉีดเสตรียรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นการที่มีไดนามิกในการเล่าเรื่องสูงชนิดที่ตัดต่อกระตุ้นอารมณ์กับแทรกฟุตเทจเพื่อให้เนื้อเรื่องเคลื่อนที่ไปอย่างสนุกสนานไม่น่าเบื่อเป็นว่าเล่น จนมีข่าวออกมาว่าที่ฟุตเทจเยอะขนาดนี้เพราะบางครั้งใช้เวลาถ่ายทำถึง 15-17 ชั่วโมงติดต่อกันก็มี และเชื่อหรือไม่ว่าเพียงแค่อีพีเดียวของ Euphoria ซีซั่น 1 กับ 2 แต่ละอีพีประกอบไปด้วยเพลงตั้งแต่ 15-40 เพลง ทำให้เพลงของทั้งสองซีซั่นรวมกันแล้วมีมากถึง 200 กว่าเพลง จนเรียกได้ว่าถ้าเอาฟุตเทจที่มีเพลงประกอบทั้งหมดของซีรีส์เรื่องนี้มารวมกันจะได้เป็นคลิปที่มีความยาวมากกว่า 10 ชั่วโมง + เลยทีเดียว (แทบจะเป็นแนวมิวสิคัลแล้ว)

แม้จะเป็นซีรีส์ที่มีความฉาวโฉ่ทางด้านเนื้อหาที่โจ่งแจ้ง (Explicit) จนเกินไป แต่นักแสดงนำอย่างเซนดาย่าที่เป็นอดีตนักแสดงดิสนี่ย์ที่พลิกมารับบทขั้วตรงข้ามก็ออกดีเฟนด์ว่าจริงๆ แล้ว Euphoria อาจมีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กวัยรุ่นก็จริง แต่ก็เป็นซีรีส์ที่เน้นนำเสนอเรื่องเพศ คำหยาบ ยาเสพติด ครอบครัว ความสัมพันธ์ และความรุนแรงสำหรับ’ผู้ใหญ่’ อยู่ดี โดยนักแสดงนำอย่างเธอมองว่าวัยรุ่นคือช่วงชีวิตของตัวละครที่จะบอกเล่าประเด็นนี้ และซีรีส์ไม่ได้มีมาเพื่อเชิดชูการกระทำดังกล่าว แต่เป็นการแสดงให้เห็นถึงข้อเสียกับความน่ากลัวของการใช้มันจนรู้สึกขยาด ซึ่งใครที่ชินกับซีรีส์ HBO แล้วก็พอจะเข้าใจได้ แต่หากไม่ชินก็ต้องขอบอกตามตรงว่าอาจตกใจเล็กน้อยที่เต็มไปด้วยฉากใช้สารเสพติด ฉากรุนแรง นู้ดซีน หรือคนแก้ผ้าเดินไปเดินมา

นอกจากนี้ ซีรีส์ทุกเรื่องสะท้อนอะไรบางอย่างเสมอและ จะว่าไปพอมานึกๆดูแล้ว ไม่เพียงแต่เนื้อหาของซีรีส์ Euphoria จะสะท้อนถึงบริบทสังคม ไลฟ์สไตล์ ค่านิยม จุดเด่นจุดด้อย ปัญหาที่ต้องแก้ จุดด่างพร้อยของประเทศที่กล่าวถึง (ในที่นี้คืออเมริกา) และทำหน้าที่เป็นซ็อฟต์พาวเวอร์ แต่การมีอยู่ของซีรีส์เองก็ยังสะท้อนถึงอะไรได้บางอย่างเช่นกัน การที่ Euphoria มีเนื้อหาที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา (จริงๆ ก็เกินคำว่าตรงไปตรงมาไปเยอะเหมือนกันนะ) พอบอกได้ว่าระบบเรตติ้งของอเมริกาเป็นระบบที่ใช้ได้จริง ถึงสามารถเล่าเรื่องและผลิตคอนเทนต์ที่เต็มไปด้วยเรื่องเพศ ยาเสพติด คำหยาบ และความรุนแรงได้ถึงขั้นนี้

ในขณะที่บางประเทศ มีระบบเรตติ้งแต่ยังต้องผ่านการเซนเซอร์ทั้งจากหน่วยงานและองค์กรโดยอิงกรอบของความดีงาม ภาพลักษณ์ประเทศ และกรอบศาสนาอยู่ หรือกล่าวได้ว่าที่จริงแล้วทั้งสี่อย่างนี้มีอยู่ในทุกๆ ประเทศ แต่คำถามที่สำคัญคือแต่ละประเทศปล่อยให้พูดได้มากน้อยแค่ไหน ปล่อยให้คนรู้ถึงการมีอยู่ของมันมากน้อยแค่ไหน และเมื่อพูดได้ พูดได้อย่างอิสระแค่ไหน จึงกลับมาที่สิ่งที่ทั้งรอนและแซมต้องการให้เกิดขึ้นจากการทำซีรีส์ Euphoria นั่นก็คือเกิดการพูดคุยถกเถียง ซึ่ง Euphoria ถือว่าทำได้สำเร็จทั้งเป้าหมายตรงนี้และด้วยสไตล์นำเสนอที่ถูกรสปากจนไม่อยากเก็บไว้ดูคนเดียว

นอกเหนือจากการที่ซีรีส์ Euphoria จะมีการใช้ปืนและยาเสพติดซึ่งเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมแล้ว ซีรีส์เรื่องนี้ด้วยตัวมันเองยังสื่อสารว่าความเป็นวัยรุ่นเองก็เป็นแขนงหนึ่งของอาชญากรรม (ในเชิงเปรียบเปรย) เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอาชญากรรมที่จะค้นหาตัวเองโดยชอบ จะที่ใช้สิทธิประโยชน์ของการเป็นเด็กตอนปลายโดยการทำอะไรตามใจแล้วยังไม่มีคนต่อว่าเท่าวัยผู้ใหญ่ ที่จะไม่ผิดบาปทางใจและทางกฎหมายเท่ากับผู้ใหญ่ทำ เหมารวมไปถึงอาชญากรรมในการเสพติดความรัก มิตรภาพ ความสุขที่ไม่ยั่งยืน ความสนุก ความท้าทาย ความคึกคะนอง อาชญากรรมที่ไม่พูดอย่างที่ใจต้องการหรือพูดอย่างไม่ยั้งคิด ที่ปล่อยให้ตัวเองแปรปรวนเกินไป ที่จะปฏิเสธความเป็นจริงบางประการตรงหน้า กับการก่ออาชญากรรมอันร้ายแรงที่สุด คืออาชญากรรมที่ทรยศและฝืนฝ่าแม้กระทั่งความรู้สึก ความต้องการ และตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง

ซึ่งหากทั้งหมดนี้นับว่าเป็นอาชญากรรม เราทั้งหลายล้วนแล้วแต่เคยก่ออาชญากรรมอย่างใดอย่างนึงกันมาแล้วทั้งสิ้น

เนื้อหาซีรีส์ทำตัวเป็นเสมือน ‘จุดกึ่งกลาง’ ที่ทุกคนต้องเผชิญและสามารถรับชมได้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยรุ่น (ไม่กล้าแนะนำให้เด็กดูเท่าไหร่) หรือผ่านช่วงวัยนี้มานานแค่ไหนแล้วก็ตาม เพราะการเป็นวัยรุ่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะต้องถึงหรือต้องผ่าน ณ จุดใดจุดหนึ่งของชีวิต ฉะนั้นการดูเรื่องนี้จึงเป็นทั้งการไปยังด้านหน้าและมองย้อนกลับไป เหมือนที่ตัวละครเรื่องนี้ต่างก็กำลังมองไปข้างหน้าชีวิตของตัวเองอยู่ และถึงจุดจุดหนึ่งแม้เรื่องราวจะเล่าไม่ถึง แต่จะมีวันที่พวกเขาทั้งดีใจที่เลือกทางนั้น เสียใจว่าไม่น่าเลือกแบบนั้นเลย และอยากไปแก้ไขอดีต หรือโหยหาอาลัยอาวรณ์กลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นอีกครั้ง

ซีรีส์ยังได้แสดงให้เห็นผ่านการใส่ละเอียดดีเทลแบบยิบๆอีกว่าชีวิตคนไม่ใช่แค่ตัวละคร หรือวัยรุ่นไม่ได้เป็นแค่ช่วงตอนที่มาแล้วผ่านไป หากแต่การใช้เวลาวัยรุ่นอย่างไรของคนๆหนึ่งเกี่ยวพันกับทั้งชีวิตของผู้มาก่อน ชีวิตที่กว่าจะโตมาถึงจุดนั้นได้ ชีวิตของผู้ที่ใช้ร่วมกันในปัจจุบัน และชีวิตของผู้ที่จะมาต่อจากพวกเขา ไปจนถึงชีวิตคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ด้วยเช่นกัน ความรุนแรง ความหลงผิด และความปล่อยให้อารมณ์ความรู้สึกอยู่เหนือเหตุผลทำให้เส้นทางการเป็นวัยรุ่นของบางคนอาจต้องแลกมาซึ่งค่าเงินที่เรียกว่า ‘น้ำตา’ เพียงแต่อยู่ที่จะเป็นน้ำตาของผู้กระทำหรือคนอื่นเท่านั้น

ซีซั่นแรกของ Euphoria จะเล่าผ่านตัวละคร รู (Rue) ของเซนดาย่า ที่คอยเฝ้ามองเพื่อนๆ อยู่ห่างๆไกลๆ และเล่าประวัติของตัวละครแต่ละตัวในทุกๆอีพีให้คนดูได้รู้จัก

สิ่งที่มองเห็นได้ชัดคือซีรีส์เรื่องนี้เป็นการกำหนดตัวแทนของคนประเภทต่างๆที่จะมีได้ในโรงเรียนไฮสคูลเหมือนร่างอวตาร ซึ่งแม้จะไม่ได้ครบครันขนาดนั้น แต่ก็มีความโดดเด่นกับมีความน่าสนใจเพียงพอให้นำมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นตัวของ รู (Rue) เองที่เพิ่งออกมาจากสถานบำบัดยา, เด็กใหม่ที่เพิ่งย้ายเข้ามาเรียน จูลส์ (Jules), กลุ่มเพื่อนที่ประกอบไปด้วย แคสซี่ (Cassie) แมดดี้ (Maddy) กับแคท (Kat), น้องสาวแคสซี่ที่ชื่อเลกซี่ (Lexi), เด็กนอกโรงเรียนที่ทำอาชีพค้ายาอย่าง เฟซโก้ (Fez), นักกีฬาโรงเรียน คริส แมคเคย์ (Chris McKay) และ เนท เจค็อบส์ (Nate Jacobs) หนุ่มหล่อสูงสไตล์ alpha male กับพ่อของเขา คาร์ล เจค็อบส์ (Cal Jacobs) ที่ปลูกฝังให้ลูกต้องเพอร์เฟ็กต์ เป็นชายชาตรี ไม่ยอมคน

ในแต่ละตอน นอกจากจะทยอยพูดถึงแต่ละตัวละคร ที่มีตั้งแต่ตัวละครติดยา, ตัวละครที่เสียพ่อตั้งแต่ยังเด็ก, ตัวละครเด็กเรียน, ตัวละครเซ็กซ์ครีเอเตอร์ผู้ค้นพบตัวเอง, ตัวละครสาวคลั่งรัก, ตัวละครสาวแก๊งนางฟ้า, ตัวละครที่เก็บงำความลับ และอีกมากมายแล้ว ซีรีส์ยังโชว์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวละครเหล่านั้นที่มาประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่ของรู-จูลส์ที่พัฒนาจากเพื่อนเป็นมากกว่านั้น, เนท-แมดดี้ที่แสดงถึงความสัมพันธ์แบบ abusive และ toxic relationship น้ำมันราดกองไฟ, คริส-แคสซี่ ความสัมพันธ์รักไม่เท่ากัน, รู-เฟซโก้ ความสัมพันธ์แบบเพื่อนพี่น้อง และคาร์ลที่มาข้องเกี่ยวกับชีวิตของเพื่อนร่วมโรงเรียนลูกชายอย่างไม่ได้ตั้งใจ

และในซีซั่น 2 ซีรีส์ก็ได้สร้างเส้นเรื่องหลักด้วยการจับเฟซโก้กับเลกซี่มาเจอกัน ให้ตัวละครทั้งสองมีบทมากขึ้น ส่วนรูก็รับบทเป็นคนทุกข์ทรมานจากการติดยา โดยคนที่ทรมานกว่าคือแม่ น้องสาว และเพื่อนหรือคนที่รักเธอ ทั้งยังเปิดเผยอดีตอันน่าสงสารของคาร์ลที่ถูกกดทับด้วยค่านิยมสังคมในสมัยที่เขายังเป็นวัยรุ่น กับเล่นเนื้อเรื่องชีวิตอาชญากรรมของเฟซโก้และเล่นประเด็นรักสามเส้าเป็นเนื้อเรื่องหลักด้วยการให้แคสซี่มาคู่กับเนท เจค็อบส์ พร้อมๆไปกับตีแผ่กับสำรวจจิตใจของตัวละครที่ซับซ้อนอย่างเนทมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในเวลาเดียวกัน ที่ทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นคำถามสำคัญเหมือนเศษขนมปังที่ทำให้เราเดินตามเพื่อที่จะรอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปโดยไม่สามารถคาดเดาได้เลย

ไฮไลท์ซีซั่นนี้ที่นอกจากเสื้อผ้ากับเมคอัพที่มีความไม่เกรงใจฝ่ายปกครองกว่าซีซั่นแรกเพื่อแสดงถึงความสุดโต่งและการดำดิ่งทางสู่ห้วงสระแห่งอารมณ์ความรู้สึกแล้ว จะอยู่ที่ฉากรูทะเลาะกับแม่ในตอน 5 ที่จะส่งเธอคว้า Emmy อีกตัว กับละครเวทีตอนที่ 7-8 และการถ่ายระบบกล้องฟิล์ม 35 mm. ทั้งซีซั่น ซึ่งแม้ฟิล์มรุ่น Ektachrome บริษัท Kodak จะเลิกผลิตไปแล้วแต่ก็กลับมาผลิตใหม่ 1-2 พันม้วนเพื่อใช้ในการถ่ายทำ Euphoria ซีซั่น 2 โดยเฉพาะ

ซีซั่นนี้ยังทำหน้าที่ขยี้ประเด็นต่างๆ ที่ปูมาในซีซั่นแรกหลังจากแนะนำตัวละครมาทั้งซีซั่น ผสมกับการใช้ตัวละครใหม่อย่างเฟย์ (Faye) และ เอลเลียต (Elliot) ขับเคลื่อนเนื้อเรื่อง โดยใช้ทั้งตัวละครกับประเด็นที่สร้างขึ้นผลักให้ตัวละครแต่ละตัวเป็นตัวเองจนสุดขอบของซีซั่นด้วยการเป็นตัวละครนั้นอย่างสุดโต่งในแบบที่เข้าใจการกระทำได้ด้วยนิสัยใจคอพื้นฐาน อีกจุดหนึ่งที่สำคัญคือละครเวทีของตัวละครเลกซี่ที่เหมือนทำหน้าที่ย้ำเตือน (remind) ทุกตัวละครที่มาร่วมดูว่า กว่าจะมาถึงจุดนี้ทุกคนผ่านอะไรกันมาบ้างและตอนนี้ทุกคนยืนอยู่ที่จุดไหน แม้กระทั่งรูที่เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวมาตลอดก็ตาม

ตอนจบ Euphoria ซีซั่น 2 ไม่ใช่ตอนจบที่ตามใจคนดูเท่าไหร่นัก แต่เป็นตอนจบที่เข้าใจได้และเหมาะสมที่จะจบเช่นนั้น และในท้ายที่สุดแม้จะจบแบบไม่ค้างคา ก็ทำให้อยากดูซีซั่น 3 ต่อและมีคำถามคาใจที่อยากถามไม่น้อย ในเวลาเดียวกันนั้นยังรู้สึกถึงความคอมพลีทบางอย่างราวกับว่าบางส่วนได้ปิดฉากไปโดยสมบูรณ์แล้ว หรือมีทีท่าว่าจะทำเหมือน Hormones The Series บ้านเราที่ซีซั่น 3 แนะนำตัวละครใหม่แทบจะทั้งหมดเข้ามารับช่วงต่อแทนยังไงอย่างงั้นด้วยเช่นกัน

พอดูจบแล้วย้อนกลับไปดูว่าตั้งแต่ซีซั่น 1 เกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็จะพบว่าซีรีส์เรื่องนี้เน้นไปที่รายละเอียดกับประวัติที่มา เพราะกว่าจะเป็นคนๆหนึ่งมันไม่ง่ายและคนดูจะไม่เข้าใจอย่างแท้จริงหรืออาจตัดสินพวกเขาผิดหากไม่ได้รับรู้ว่าตัวละครประกอบสร้างขึ้นมาจากปัจจัยอะไรบ้าง และนั่นแหละ รายละเอียดคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะช่วงเวลาแห่งความเป็นวัยรุ่นที่ทั้งเปราะบางและเซนต์ซิทีฟที่สุด ทุกๆดีเทลคือสิ่งที่จะส่งต่อให้พวกเขาโตไปเป็นผู้ใหญ่แบบไหน และซีรีส์ก็แสดงให้เห็นว่าส่วนหนึ่งส่งผลมาจาก ค่านิยมของสังคม การหล่อหลอม การสอนสั่ง การมี/ขาดพ่อแม่ ปัญหาครอบครัวร้าวฉาน และเส้นทางที่วัยรุ่นคนนั้นเลือกเดินด้วยตัวเอง

Euphoria เป็นซีรีส์ที่บอกวัยรุ่นทุกคนรวมถึงอดีตวัยรุ่นว่า ‘Life is hard’ เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่ไม่ง่าย วัยรุ่นคือช่วงเวลาแห่งความสับสนและบ้าบิ่นที่สุด วัยรุ่นต้องการเอาแต่ใจ อยากรู้อยากลอง และทำตามอำเภอใจเพื่อหานิยามของตัวเองที่สุดในทุกวัย แต่ความเป็นจริงคือไม่มีใครได้ดั่งใจหรือทำทุกอย่างถูกต้องไปซะหมด และทุกเรื่องราวไม่ได้จบดีเสมอ ความทรงจำที่มีต่อไฮสคูลมีทั้งแง่งามที่ดีน่าจดจำ และที่เลวร้ายจนอยากจะลืมๆไปซะราวกับไม่เคยเกิดขึ้น น้ำตาหนึ่งหยดอาจเป็นไปได้ทั้งหลั่งรินมาจากความปิติยินดี ความซาบซึ้ง ความสับสน ความอิจฉา ความเจ็บปวดเสียใจ และความรู้สึกที่หลงทาง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน